วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ระบบAdmission ปี 2553 กับ การสอบ GATและ PAT









สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กำหนดจัดสอบ GAT (General Aptitude Test) และ PAT (Professional Aptitude Test) จำนวน 3 PAT คือ PAT 1, PAT 2 และ PAT 3 ให้กับนักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ม.5 ขึ้นไป


การสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลางหรือแอดมิชชั่นส์ ปี 2553 ซึ่งประกอบด้วย

1. คะแนนเฉลี่ยสะสม ม.ปลาย (GPAX) 20%

2. คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 30%

3. คะแนนแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) 10-50%

4. คะแนนแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพหรือวิชาการ (PAT) 0-40%

และได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ GAT และ PAT พร้อมค่าน้ำหนักในแต่ละกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้




มารู้จัก GAT

รายละเอียดเกี่ยวกับ GAT


1. ด้านที่วัด - การอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้โจทย์ปัญหา 50%- การสื่อสารทางภาษาอังกฤษ 50%

2. ลักษณะข้อสอบ - ข้อสอบปรนัยและอัตนัย คะแนนเต็ม 300 คะแนน- ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง

3. ผู้เข้าสอบ - เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป นักเรียนต้องสมัครสอบด้วยตนเอง

4. การจัดสอบ - ปีละ 3 ครั้ง ประมาณเดือนมกราคม พฤษภาคม ธันวาคม


(กำหนดเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

- คะแนนของการสอบแต่ละครั้งมีอายุความ 2 ปี





มารู้จัก PAT

รายละเอียดเกี่ยวกับ PAT

1. ด้านที่วัด- เป็นการวัดเนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานของการเรียนต่อร่วมกันการวัดศักยภาพในแต่ละวิชาชีพ
มีทั้งสิ้น 7 PAT ดังนี้

PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์

1.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonometry, Calculus ฯลฯ
1.2 ศักยภาพ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills


PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์

2.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ2.2 ศักยภาพ เช่น Perceptual Ability, Calculation skills, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ


PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์

3.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Engineering Mathematics, Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ
3.2 ศักยภาพ Space Relations, Multidimensional, Perceptual Ability, Calculation Skills,Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

4.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Architectural Math and Science
4.2 ศักยภาพ Space Relations, Multidimensional, Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ


PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์

5.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่นความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
5.2 ศักยภาพ ครุศึกษา (Pedagogy) ทักษะการอ่าน (Reading Skills) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย, การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์

6.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น - ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) - ความรู้ทั่วไปทางศิลป์
6.2 ศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2
(ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ)

7.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
7.2 ศักยภาพ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills


2. ลักษณะข้อสอบ
- ข้อสอบปรนัยและอัตนัย คะแนนเต็ม 300 คะแนน- ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง

3. ผู้เข้าสอบ
- เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป นักเรียนต้องสมัครสอบด้วยตนเอง

4. การจัดสอบ
- ปีละ 3 ครั้ง ประมาณเดือนมกราคม พฤษภาคม ธันวาคม- นักเรียนจะสมัครสอบกี่ครั้งก็ได้ เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด

- คะแนนของการสอบแต่ละครั้งมีอายุความ 2 ปี (นับจากวันสอบ)



ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถานที่ติดต่อ : เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0-2219-2991-5 โทรสาร : 0-2219-2996 Call Center : 02-975-5599 อีเมล์ : webmaster@niets.or.th เว็บไซต์ : http://www.niets.or.th/

ที่มา : eduzones / Niets.or.th




แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :



1 ความคิดเห็น: