วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ









กวดวิชา ติวออนไลน์ ตะลุยข้อสอบ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม kanzuksa.com





การเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ อาจแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท

คือจดหมายติดต่อระหว่างบุคคล หรือจดหมายส่วนตัว อาจเป็นจดหมายถามทุกข์สุข แสดงความยินดี แสดงความเสียใจ จดหมาย เชิญ จดหมายอีกประเภทหนึ่งเป็นจดหมายธุรกิจ ซึ่งใช้ติดต่อระหว่างบุคคลกับสำนักงานธุรกิจ หรือระหว่างสำนักงานธุรกิจด้วยกัน สำหรับในเอกสารนี้จะให้รายละเอียดเฉพาะจดหมายส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นจดหมายที่นักเรียนคุ้นเคย และอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่า


มาเริ่มกันที่ส่วนประกอบของ การเขียนจดหมายในภาษาอังกฤษ

  • 1. Heading (หัวจดหมายภาษาอังกฤษ) หัวจดหมายคือที่อยู่ของผู้เขียนจดหมาย และวันที่ที่เขียนจดหมาย ซึ่งนิยมเขียนไว้บนมุมด้านขวาหรือซ้ายของจดหมายก็ได้

  • 2. Inside Address (ชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมายภาษาอังกฤษ) ชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมายภาษาอังกฤษ ซึ่งเขียนหรือพิมพ์ไว้ทางด้านซ้ายบน ถัดจากหัวจดหมายลงมาจะปรากฏเฉพาะในจดหมายธุรกิจเท่านั้น สำหรับรูปแบบการเขียนเหมือนกับหัวจดหมาย

  • 3. Solution (คำขึ้นต้นจดหมายภาษาอังกฤษ) คำขึ้นต้นจดหมายในภาษาอังกฤษ เปรียบเสมือนคำทักทายเพื่อเริ่มต้นจดหมาย ต้องเขียนหรือพิมพ์ไว้ริมซ้ายของกระดาษด้านบนต่อจากหัวจดหมาย สำหรับจดหมายติดต่อระหว่างบุคคล และต่อจากชื่อที่อยู่ของผู้รับจดหมาย สำหรับจดหมายธุรกิจ คำขึ้นต้นจดหมายอาจเขียนได้หลายแบบ ขึ้นอยู่กับบุคคลที่เราเขียนถึงว่ามีความสัมพันธ์กับผู้เขียนอย่างไร



รวมคำลงท้ายจดหมายภาษาอังกฤษ


วันนี้ขอรวมคำลงท้ายจดหมายในภาษาอังกฤษมาให้อ่านกัน เผื่อใครจะต้องเขียนจดหมาย หรืออีเมลภาษาอังกฤษจะได้เขียนคำลงท้ายกันถูก ไว้จะหาคำขึ้นต้นจดหมายมาฝากกันอีก อย่าลืมจดกันเอาไว้นะครับ

รวมคำลงท้ายจดหมายภาษาอังกฤษ

คำลงท้ายที่แสดงความเคารพคือ Yours Respectfully

คำลงท้ายจดหมายแบบเป็นทางการ (ใช้สำหรับการติดต่อทางธุรกิจหรือส่งให้ผู้หลักผู้ใหญ่)

1. Yours Sincerely ความหมายน่าจะประมาณว่า ด้วยความจริงใจ

2. Yours Faithfully ความหมายน่าจะประมาณว่า ด้วยความศรัทธา

3. Regards ด้วยความเคารพ

4. Best regards ด้วยความเคารพอย่างสูง

5. Sincerely ด้วยความจริงใจอีกเหมือนกัน

ตัวอย่างสำหรับการลงท้ายจดหมายแบบไม่ค่อยเป็นทางการ (ใส่สำหรับการส่งให้เพื่อนสนิท)

1. With love ด้วยรัก

2. Lots of love รักมากนะ

3. Lots of kisses จุ๊ฟๆ

4. Take care เป็นห่วงนะ

5. Keep in touch แล้วเจอกันนะ

6. Keep contact ติดต่อมานะ

7. love รักนะ

8. See ya ไว้เจอกัน โย่ว

9. Write back soon เขียนกลับมาด้วย

10. [...]



ขอขอบคุณข้อมูล : mescript.com / ภาพประกอบจาก Mystic Arts, LLC.

คำค้นหา : การเขียนจดหมายภาษาอังกฤษ, การเขียนจดหมายในภาษาอังกฤษ, คำขึ้นต้นจดหมายภาษาอังกฤษ, คำลงท้ายจดหมาย, จดหมายภาษาอังกฤษ,Always, Best regards, Keep contact, Keep in touch, Lots of kisse, Lots of love, love, Regards, See ya, Sincerely, Take care, Thank you, With love, Write back soon, Your friend, Yours Faithfully, Yours Sincerely

วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เด็กไทยสร้างชื่อ 19รางวัล คณิตวิทย์โอลิมปิก








กวดวิชา ติวออนไลน์ ตะลุยข้อสอบ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม kanzuksa.com

 เด็กไทยสร้างชื่อ 19รางวัล คณิตวิทย์โอลิมปิก




เด็กประถมไทยสร้างชื่อทำคะแนนรวมสูงสุดสุด และคว้า 4 เหรียญทอง รวม 19 รางวัล จากการแข่งขันคณิต-วิทย์โอลิมปิก ระดับประถมศึกษา ที่อินโดฯ รักษาการเลขาฯ กพฐ.ชูเด็กไทยเก่งขึ้น..




เมื่อวันที่ 13พ.ย. นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสาธารณรัฐอินโดนีเซียว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้คัดเลือก และส่งนักเรียนระดับประถมศึกษาของไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) ระหว่างวันที่ 7-16 พ.ย. ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย จำนวน 2 ทีมรวม 18 คน ผลปรากฏว่านักเรียนทั้งหมดสามารถกวาดรางวัลจากการแข่งขันได้ถึง 18 เหรียญ 1 ถ้วยรางวัล 19 รางวัล ดังนี้



ผลการแข่งขันคณิตศาสตร์ เหรียญทอง 1 รางวัล และถ้วยรางวัลคะแนนรวมสูงสุดคณิตศาสตร์ภาคทฤษฎี ได้แก่ ด.ญ.สุเจษฎา อุดมศรีรุ่งเรือง โรงเรียนราชวินิต กรุงเทพฯ เหรียญเงิน 5 รางวัล ได้แก่ ด.ช.กฤษฏ์ บุญศิริเศรษฐ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ฯ ฝ่ายประถม กรุงเทพฯ ด.ช.ณัฐวุฒิ บุญสิริพัฒนาเจริญ โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนประถม กรุงเทพฯ และ ด.ช.สิรดนัย ริมสาคร โรงเรียนลาซาล กรุงเทพฯ ด.ช.อธิคม วาณิชย์กุล โรงเรียนเด็กสากล นิมิตใหม่ กรุงเทพฯ และ ด.ช.พิชญเมธ โชคถาวร โรงเรียนอุดมวิทยา จ.ราชบุรี



เหรียญทองแดง 3 รางวัล ได้แก่ ด.ญ.สุรัสดา กิระวิทยา โรงเรียนราชวินิต กรุงเทพฯ ด.ญ.ธนาวรรณ กุลนา โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา จ.นครราชสีมา และ ด.ช.นนทกฤษ์ ไชยวงศ์ โรงเรียนอัสสัมชัญ จ.ระยอง



ผลการแข่งขันวิทยาศาสตร์ เหรียญทอง 3 รางวัลได้แก่ ด.ช.จิรสิทธิ์ เจียรพรรณี โรงเรียนเซนต์คาเบรียล กรุงเทพฯ ด.ช.ชลณัฎฐ์ พืชน์ไพบูลย์ โรงเรียนแสงทองวิทยา จ.สงขลา และ ด.ช.สรวิชญ์ วัฒนเพ็ญไพบูลย์ โรงเรียนอนุบาลชลบุรี จ.ชลบุรี เหรียญเงิน 4 รางวัล ได้แก่ ด.ญ.คัทลียา พรมดอนกอย โรงเรียนสารสาสน์วิเทศรังสิต จ.ปทุมธานี ด.ช.กรวิชญ์ ตรีรัตนกุลวงศ์ โรงเรียนสฤษดิเดช จ.จันทบุรี ด.ญ.ณัฐณิชา สนั่นพานิชกุล โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี จ.จันทบุรี และ ด.ญ.ธัญวรัตน์ จิวเรืองวิญญู โรงเรียนยอแซฟอุปถัมภ์ จ.นครปฐม และเหรียญทองแดง 2 รางวัล ได้แก่ ด.ญ.พัทธ์พิชญา พิชญวณิชย์ โรงเรียนอนุบาลจันทบุรี จ.จันทบุรี และ ด.ช.ปัณฑ์ธร อิ่มเอมกมล โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา จ.นครราชสีมา



นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า สพฐ.ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนไทยทั้ง 18 คน ที่ได้รับรางวัลและนำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ จะเห็นได้ว่าเด็กไทยมีความสามารถทางวิชาการเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทั้งในเวทีระดับประเทศและระดับนานาชาติได้รับรางวัลกลับมาทุกเวทีการแข่งขัน แสดงถึงการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนรวมทั้งการจัดการเรียนการสอนของไทยมีประสิทธิภาพขึ้น สพฐ. ยังมีเวทีระดับโลกที่เปิดโอกาสให้นักเรียนไทยได้แสดงความสามารถซึ่งได้คัด เลือกตัวแทนทีมนักเรียนไทยไปร่วมแข่งขันความสามารถทางวิชาการอีกหนึ่งเวที คือ การแข่งขันคณิตศาสตร์ ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น Elementary Mathematics International Competition (EMIC) ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ปลายเดือน พ.ย.นี้

 


 ภาพข่าว / แหล่งข่าว : ไทยรัฐออนไลน์

 

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

กวดวิชา ติวออนไลน์ ตะลุยข้อสอบ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม kanzuksa.com



โครงการประกวดสื่อดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 2


โลกออนไลน์เช่นอินเทอร์เน็ตเป็นพื้นที่ที่เด็กและเยาวชนกำลังมีส่วนร่วมมากขึ้นเรื่อยๆ ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการเข้าถึงสื่อต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต ซึ่งในปัจจุบันมุ่งเน้นไปที่สื่อบันเทิง สื่อเรื่องเพศ และอบายมุข ทำให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ ฉาบฉวย และสุ่มเสี่ยง เพื่อลดพฤติกรรมและความเสี่ยงดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการระดมสร้างและนำเสนอสื่อสร้างสรรค์บนอินเทอร์เน็ต เพื่อเป็นทางเลือกที่ชัดเจนแก่เยาวชนในการเข้าถึงและใช้งานให้เกิดประโยชน์




อย่างไรก็ตาม ธรรมชาติของกลไกตลาดทำให้การสร้างสื่อสร้างสรรค์เป็นไปได้ยาก เพราะตลาดโดยรวมมีความต้องการสื่อสร้างสรรค์น้อยเมื่อเทียบกับความต้องการสื่อเพื่อความบันเทิง จึงต้องมีวิธีในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการสร้างและนำเสนอสื่อดีๆ ที่เหมาะสมกับความเป็นจริง



นอกจากนั้น การระดมสร้างและเผยแพร่เนื้อหาดีๆ จะต้องเกิดขึ้นด้วยความร่วมมือขององค์กรภาคีที่ร่วมงานด้านเนื้อหาสร้างสรรค์บนโลกออนไลน์ โดยจะต้องมีการรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายการทำงานที่ชัดเจน เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องมีการพัฒนาระบบสนับสนุนการสร้างเนื้อหาด้านบวกให้แก่ภาคีและเยาวชนผ่านกลไกต่างๆ เช่น กองทุนสื่อสร้างสรรค์ เป็นต้น



เพื่อตอบปัญหาดังกล่าว แผนงาน ICT เพื่อสุขภาวะออนไลน์และการสนับสนุนภาคีเครือข่ายสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีด้านการศึกษา การเรียนรู้ จึงได้ร่วมกันริเริ่มโครงการประกวดสื่อการเรียนรู้ดิจิทัลสร้างสรรค์ โดยมีเป้าหมายที่จะฝึกอบรมวิธีการสร้างสื่อที่ดี สร้าง รวบรวม และนำเสนอสื่อสร้างสรรค์ เช่น บทเรียนช่วยสอน เว็บเพจสื่อการสอน บทความ บันทึก (บล็อก) สารคดีสั้น ในระบบอินเทอร์เน็ต ผ่านเว็บไซต์ของภาคีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่เกี่ยวข้องกับสื่อสร้างสรรค์ เช่น www.thaigoodview.com โดยใช้กลไกการประกวดเป็นเครื่องมือสร้างแรงจูงใจให้เกิดการสร้างเนื้อหาที่มีคุณภาพ



วัตถุประสงค์


  • เพื่อสร้าง รวบรวม และเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์บนอินเทอร์เน็ตให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพ มากจนเยาวชนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้

  • เพื่อพัฒนาศักยภาพของครูผู้สอนให้สามารถสร้างสื่อด้วยเครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม

  • เพื่อกระตุ้น ส่งเสริมให้เยาวชนที่มีศักยภาพในการสร้างผลงานสร้างสรรค์สามารถพัฒนางานและนำเสนองานต่อสาธารณะชนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตได้ โดยผ่านระบบการสร้างแรงจูงใจและการเชื่อมโยงเครือข่ายสังคม

  • เพื่อสนับสนุนการรวมกลุ่มของภาคีร่วมงานด้านข้อมูล ความรู้ และการศึกษา เพื่อการทำงานร่วมกันเป็นเครือข่ายที่ชัดเจนและเข้มแข็ง

  • เพื่อพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิตและเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์ในระยะยาว เช่น กองทุนสื่อสร้างสรรค์

ขั้นตอนในการดำเนินงาน


  • ระยะเวลาของโครงการ 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 - 31 มกราคม 2553

  • ประชุมทีมงานเพื่อสรุปรูปแบบการประกวดสื่อดิจิทัล ภายในวันที่ 10 สิงหาคม 2552

  • เชิญคณะกรรมการตัดสินประจำโครงการประชุม เพื่อกำหนดเกณฑ์การตัดสิน ภายในวันที่ 30 สิงหาคม 2552

  • จัดทำโปสเตอร์ และวางแผนการประชาสัมพันธ์ เสร็จสิ้นภายใน 15 กันยายน 2552

  • ประชาสัมพันธ์ในสถานศึกษาทั่วประเทศ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2552

  • ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ ในเดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน 2552

  • รับสมัครผู้เข้าแข่งขันการประกวดสื่อทั้งประเภทเว็บเพจและสื่อออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน - วันที่ 30 พฤศจิกายน 2552

  • ส่งใบสมัครและผลงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน 2552

  • คณะกรรมการตรวจสอบ และตัดสินผลงาน เสร็จสิ้นภายในวันที่ 10 ธันวาคม 2552

  • ประกาศผลการตัดสิน ภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2552

  • จัดงานมอบรางวัลประมาณต้นเดือนมกราคม 2553 จะแจ้งกำหนดที่แน่นอนให้ทราบอีกครั้ง

  • บันทึกลงแผ่นซีดีรอม เพื่อมอบให้โรงเรียนห่างไกลและขาดแคลนสื่อการเรียนรู้

  • ส่งมอบรางวัลพร้อมเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ ภายในวันที่ 31 มกราคม 2553

  • ประเมินผลโครงการให้แล้วเสร็จ สรุปผลงาน ภายในวันที่ 31 มกราคม 2553
มีข้อสงสัยติดต่อ ครูพูนศักดิ์ สักกทัตติยกุล โทร 081-869-3782 หรือ webmaster@thaigoodview.com

ข้อมูลจาก : นิตยสารการศึกษาอัพเกรด ฉบับ 134

ข้อมูลเพิ่มเติม รายละเอียดอื่นๆ

วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เทศกาลวันลอยกระทง ที่มาและความเชื่อ

กวดวิชา ติวออนไลน์ ตะลุยข้อสอบ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม kanzuksa.com







วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนหรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ



เทศกาลลอยกระทง ถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยที่มีตั้งแต่ครั้งสมัยสุโขทัย เรียกกันว่า งานลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง เป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม เชื่อกันว่าการลอยกระทง หรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศนั้น กระทำเพื่อเป็นการสักการะ รอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมหานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ใน แคว้นทักขิณาของประเทศอินเดีย ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่าแม่น้ำเนรพุททา



ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น



  • ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)

  • จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"

  • จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง

  • ภาคอีสาน จะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"โดยเฉพาะที่จังหวัดนครพนมเพราะมีความงดงามและอลังการที่สุดในภาคอีสาน

  • กรุงเทพมหานคร จะมีงานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว 7-10 วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง

  • ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา




 
ทำไมกระทงส่วนใหญ่เป็นรูปดอกบัว

ในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือตำนานนางนพมาศ ซึ่งเป็นพระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองว่าเป็นเวลาเสด็จประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน และได้มีรับสั่งให้บรรดาพระสนมนางในทั้งหลายตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียนนำไปลอยน้ำหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ พระสนมเอกก็ได้คิดประดิษฐ์กระทงเป็นรูปดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปถวายสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นก็รับสั่งถามถึงความหมาย นางก็ได้ทูลอธิบายจนเป็นที่พอพระราชหฤทัย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน” ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นโคมลอยรูปดอกบัวปรากฏมาจนปัจจุบัน


ข้อมูลเพิ่มเติม :




แหล่งที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขอขอบคุณรูปภาพจาก kratauy.wordpress.com, btk.ac.th