วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

“รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 5

กวดวิชา ติวออนไลน์ ตะลุยข้อสอบ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม http://www.kanzuksa.com

เชิญนิสิตนักศึกษา บุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคลร่วมประกวดโครงการ “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 5



มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์เปิดตัวโครงการประกวด “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 5 โดยผู้ชนะจะได้รับโล่พระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี



จรัมพร โชติกเสถียร รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานมูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าวว่า “มูลนิธิวิจัยเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจัดให้มีการประกวดรางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศมาอย่างต่อเนื่อง โดยปีพ.ศ.2552 นี้ กำหนดจัดขึ้นเป็น ครั้งที่ 5 เพื่อสนับสนุนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไทยให้มีความก้าวหน้าทัดเทียมระดับสากล สามารถนำมาพัฒนาเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมและประเทศหรือพัฒนาในเชิงธุรกิจ รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีอย่างกว้างขวาง



การแข่งขันแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคล และประเภทนิสิต นักศึกษา โดยมูลนิธิฯ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานที่ปรึกษามูลนิธิฯ พระราชทานโล่รางวัลแก่ผู้ชนะทั้ง 2 ประเภท นอกจากนี้ผู้ชนะประเภทบุคคลทั่วไปหรือนิติบุคคลจะได้รับเงินรางวัล 1 ล้านบาท และประเภทนิสิต นักศึกษา จะได้รับเงินรางวัล 100,000 บาท ผลงานที่ส่งเข้าแข่งขันต้องเป็นผลงานวิจัยหรือผลงานเชิงประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ของคนไทยและทำขึ้นในประเทศไทย เช่น Software, Application, Network, Communication หรือ Hardware และเป็นผลงานที่นำมาใช้ได้จริง ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศหรือสามารถนำมาพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจได้”



ขอเชิญชวนนิสิต นักศึกษา ประชาชนและนิติบุคคลร่วมส่งผลงานวิจัยหรือผลงานเชิงประยุกต์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าแข่งขัน “รางวัลเจ้าฟ้าไอที รัตนราชสุดา สารสนเทศ” ครั้งที่ 5 ชิงรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสมัครถึง30 กันยายน 2552 นี้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร. 0 2544 5533หรือ htttp://www.itprincessaward.com

วันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2552

พร้อมจัดสอบ V-NET

กวดวิชา ติวออนไลน์ ตะลุยข้อสอบ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม kanzuksa.com

พร้อมจัดสอบ V-NET


สทศ.กำหนดจัดสอบการทดสอบวิชาสามัญตามหลักสูตรอาชีวศึกษา ในช่วงเดือน ธ.ค.2552 และจะจัดสอบ 6 วิชา ..

ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผอ.สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ เปิดเผยว่า สทศ.กำหนดจัดสอบการทดสอบวิชาสามัญตามหลักสูตรอาชีวศึกษา หรือ Vocational National Education Test หรือ V-NET โดยจัดการทดสอบนักเรียนในหลักสูตรอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ทั้งของรัฐและเอกชน โดยสถานศึกษาจะต้องเป็นผู้ส่งรายชื่อนักเรียนให้แก่ สทศ. ในช่วงเดือน ธ.ค.2552 และจะจัดสอบ 6 วิชาได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา และสุขศึกษาและพลานามัย โดยกำหนดสอบวันที่ 10 มี.ค.2553 ดังนี้ เวลา 08.30-11.30 น. สอบ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา วิชาละ 1 ชั่วโมง เวลา 13.00-15.30 น. สอบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิชาละ 1 ชั่วโมง สุขศึกษาและพลศึกษา สอบ 30 นาที.


ข้อมูลจาก :ไทยรัฐออนไลน์

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

นับถอยหลังการสอบ Admission :GAT,PAT ครั้งที่3

กวดวิชา ติวออนไลน์ ตะลุยข้อสอบ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม kanzuksa.com

เดือนหน้าก็จะเข้าสู่เทศการการสอบGAT ,PAT ครั้งที่ 3 กันแล้ว น้องๆเตรียมตัวกันไปถึงไหนแล้วเอ่ย
การศึกษาดอทคอม แวะเวียนมาอัพเดท ตารางการสอบให้น้องๆอีกครั้ง อย่านิ่งนอนใจ เหลืออีกเพียงไม่กี่วันแล้ว


  • 11 ก.ค. 52 - 19 ก.ค. 52   สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 2
  • 20 ก.ค. 52 - 10 ส.ค. 52 สมัครสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 3
  • 05 ก.ย. 52  ประกาศสนามสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 3
  • 30 ก.ย. 52 ประกาศผลสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 2
  • 08 ต.ค. 52 - 11 ต.ค. 52 สอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 3
  • 20 ก.พ. 53 - 21 ก.พ. 53 สอบ O-NET ประจำปี 2552
  • 10 เม.ย. 53 ประกาศผลสอบ O-NET ประจำปี 2552


Blog ที่เกี่ยวข้อง : เผยวิชารับศึก Admission 2553

เด็กไทยสร้างชื่อ ซิว8รางวัล ฝีมือแรงงานโลก

กวดวิชา ติวออนไลน์ ตะลุยข้อสอบ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม kanzuksa.com




เยาวชนไทยคว้ารางวัลจากการแข่งขันฝีมือแรงงานโลก ที่ประเทศแคนาดา ได้ถึง 8 สาขา จากทั้งหมด 15 สาขา ที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยกวาด 2 เหรียญทอง และ 1 เหรียญทองแดง เตรียมกลับถึงไทย 9 ก.ย.นี้..




ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เยาวชนไทยที่เข้าแข่งขันฝีมือแรงงานโลก ครั้งที่ 40 หรือ เวิลด์ สกิลส์ (WORLD SKILLS) ที่เมืองคัลการี ประเทศแคนาดา คว้ารางวัลมาได้ถึง 8 สาขา จากทั้งหมด 15 สาขา ที่เข้าร่วมการแข่งขัน หลังจากมีพิธีปิดการแข่งขันเมื่อเวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น



โดย 8 รางวัลที่เยาวชนได้มานั้น มี 2 เหรียญทองจากนายทวีศักดิ์ เอี่ยมพงษ์ สาขาช่างเชื่อม และนายณัฐพล ชัยประเศียร สาขาเครื่องจักรกล และ 1 เหรียญทองแดง จากนายจิรวัฒน์ เตชะเดชาวงศ์ สาขากราฟฟิก ที่เหลืออีก 5 รางวัล เป็นรางวัลประกาศนียบัตรฝีมือยอดเยี่ยม โดยเยาวชนไทยจะเดินทางกลับถึงไทยวันที่ 9 ก.ย.นี้ เวลา 23.00 น.


ข้อมูลจาก : นสพ. ไทยรัฐ

วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2552

เคล็ดลับเก่งฟิสิกส์ คนเก่งโอลิมปิกเปิดใจ

กวดวิชา ติวออนไลน์ เฉลยข้อสอบ แหล่งความรู้ โดย เว็บการศึกษาดอทคอม


เคล็ดลับเก่งฟิสิกส์ คนเก่งโอลิมปิกเปิดใจ


ปีนี้เวทีแข่งขันระดับชาติที่ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพและเดินหน้าต่อเนื่อง สร้างชื่อเสียงให้สยามเมืองยิ้มได้เป็นผลสำเร็จ ต้องถือว่าเวทีวิชาการที่โหดหินอย่างฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย มีส่วนช่วยเชิดชูเกียรติภูมิบ้านเราและกระชับมิตรภาพกับเพื่อนบ้านได้อย่างอบอุ่นงานหนึ่ง โดยมีหัวกะทิจาก 15 ประเทศเข้าร่วมแข่งขันจำนวน 17 ทีม รวมผู้แข่งขัน 119 คน



การแข่งขันฟิสิกส์โอลิมปิกระดับทวีปเอเชีย ครั้งที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 เม.ย.-2 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยา ศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ และสมาคมฟิสิกส์ไทย จัดขึ้น ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วันนี้น้องๆ ตัวแทนประเทศไทยส่วนหนึ่งใน 8 คน ร่วมไขข้อข้องใจว่าวิชายากที่ใครๆ ก็บ่นอุบว่า "หิน" อย่างฟิสิกส์นั้น พวกเขามีวิธีอย่างไรถึงได้มีความสุขกับการเรียนวิชานี้

น้องตั้ว นายธนภัทร วรศรัณย์ ชั้นม.6 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม บอกว่า เป็นคนสนใจวิทยาศาสตร์อยู่แล้ว โดยเฉพาะฟิสิกส์ เพราะเป็นวิชาที่ไม่ต้องท่องจำ และหลักการของฟิสิกส์นำมาใช้อธิบายได้จริงในทุกกรณี นอกจากนี้ สิ่งสำคัญในการเรียนอีกข้อหนึ่งคือ ครูผู้สอน ต้องคำนึงถึงความสนุกสนานในการสอนไปพร้อมๆ กับความรู้ด้วย เพราะจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้เด็กๆ อยากเรียนรู้


"ผมเรียนด้วยความรักและมีความสุขในการเรียนวิชานี้ ถ้าเรารักในวิชาใดก็จะเรียนได้ดี ก่อนหน้านี้ผมให้ความสำคัญกับวิชาอื่นๆ 40% ส่วนฟิสิกส์ 60% แต่เดี๋ยวนี้ผมให้เวลากับฟิสิกส์ 100%"

น้องตั้วเผยว่า เขาก็เหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไปที่ยังเล่นเกม เล่นดนตรี หรือทำกิจกรรมอื่นๆ บ้าง แต่ไม่กระทบต่อการเรียน เพราะสิ่งสำคัญคือต้องรู้จักจัดสรรเวลาให้เป็น


น้องปริ๊นซ์ นายอิสระพงศ์ เอกสินชล ชั้นม.5 โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จ.นครปฐม เป็นอีกคนที่ย้ำถึงวิธีเรียนที่ดีว่า ควรให้ความสำคัญกับการจัดสรรเวลาในชีวิตให้เหมาะสม ทั้งเรื่องการนอน อาหาร การออกกำลังกาย และการทบทวนบทเรียนสม่ำเสมอ รวมทั้งหาความรู้เพิ่มเติมด้วย


"เรื่องอ่านหนังสือต้องรู้ว่าควรอ่านเล่มใดก่อน-หลัง เช่น หนังสือฟิสิกส์ที่อธิบายด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายผมเลือกอ่านเล่มนั้นก่อน หลังจากนั้นค่อยทำความเข้าใจกับเรื่องที่ลึกซึ้งขึ้นไป ไม่ข้ามขั้นตอนครับ"



น้องวี นายวีรภัทร พิทยครรชิต ชั้นม.4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา บอกว่า ถ้าเราอยากเรียนให้เก่งวิชาใด เราต้องขยันในวิชานั้นๆ ต้องอ่านหนังสือทุกวันเพื่อทบทวน ใช้เวลาอยู่กับมัน ทำความเข้าใจ คิดให้เยอะๆ



"สำหรับผมต้องตั้งเป้าหมายในอนาคตไว้ก่อน เพื่อจะได้มีจุดมุ่งหมายที่จะเรียนรู้ และเป็นการช่วยกระตุ้นให้เราเดินหน้าต่อไป การจะทำอะไรก็ตามถ้าเราทำมันไปวันๆ แบบไม่มีเป้าหมายก็ไม่รู้ว่าจะทำไปทำไม การมีเป้าหมายสำหรับผมจึงสำคัญ"



น้องเกรท นายสรณภพ เทวปฏิคม ชั้นม.6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่แม้จะเรียนดีแต่ก็ไม่ทิ้งการเล่นตามวัย ทั้งเล่นดนตรีและกีฬา เผยว่า ถ้าอยากเรียนให้เก่งก็ต้องมีความสุขกับสิ่งที่ทำอยู่ คือถ้าเรารักในสิ่งที่เรากำลังเรียน มันจะทำให้เรามีความพยายาม ตั้งใจ และพร้อมเรียนรู้ด้วยตนเอง



น้องเบน นายธิปก รักอำนวยกิจ ชั้นม.4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ให้ทรรศนะว่า บางคนอาจไม่ถนัดเรื่องวิชาการ แต่การเรียนเป็นสิ่งจำเป็นและมีคุณค่าต่อชีวิต เราจึงต้องตั้งใจให้มาก ผมอยากให้ครูสอนวิทยาศาสตร์เน้นให้เด็กคิดเป็น เพราะวิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีเนื้อหามาก หลายๆ ครั้งจึงกลายเป็นว่าเด็กต้องมาท่องจำเนื้อหา


ถือเป็นเทคนิคการเรียนวิชา "หิน" และสะท้อนมุมคิดระบบการศึกษาไทยที่ไม่ควรมองข้าม


ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก  ข่าวสด ออนไลน์
 คอลัมน์ : ไอคิวทะลุฟ้า



วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

9มหาลัย'ดังขึ้นทะเบียน มหาวิทยาลัยวิจัยรุ่นแรก

9มหาลัย'ดังขึ้นทะเบียน มหาวิทยาลัยวิจัยรุ่นแรก

ชี้1ปีรักษามาตรฐานไม่ได้ต้องถูกถอด


นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ เมื่อวันที่ 24 ส.ค. ที่ประชุมได้พิจารณาและประกาศให้มหาวิทยาลัยที่เข้าหลักเกณฑ์ 9 แห่ง เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติเป็นครั้งแรก จากที่เสนอขอมา 15 แห่ง

โดยมีมหาวิทยาลัยที่ได้รับการประกาศชื่อประกอบด้วย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ม.มหิดล

ม.เกษตรศาสตร์

ม.เชียงใหม่

ม.ธรรมศาสตร์

ม.ขอนแก่น

ม.สงขลานครินทร์

ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 ม.เทคโนโลยีสุรนารี

ซึ่งหลังจากนี้ทั้ง 9 มหาวิทยาลัย จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการ ฉบับสมบูรณ์เสนอต่อคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดงบประมาณสนับสนุน ให้เกิดผลงานวิจัยที่เชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และสังคม ที่สามารถใช้ได้จริง โดยจะมีคณะกรรมการประเมินผลทุก 6 เดือน หากครบ 1 ปีประเมินแล้วไม่มีผลงานตามเกณฑ์ที่กำหนด จะต้องถูกถอดออกจากการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ



“หลักเกณฑ์ของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ คือ เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ 1 ใน 500 ของมหาวิทยาลัยโลกในการจัดอันดับของหนังสือพิมพ์ Times Higher Education หรือหากไม่อยู่ในอันดับดังกล่าวจะต้องมีผลงานการวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารทางวิชาการไม่ต่ำกว่า 500 เรื่อง ใน 5 ปีล่าสุด มีผลงานวิจัยระดับนานาชาติที่โดดเด่น อย่างน้อย 2 ใน 5 สาขา ของการจัดอันดับ และมีสัดส่วนอาจารย์ที่จบวุฒิปริญญาเอกมากกว่า 40% ของอาจารย์ทั้งหมด” นายจุรินทร์ กล่าว.



จาก เดลินิวส์