วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ข่าวAdmission : ปี 2553 ลดการสอบ GAT-PAT เหลือ 2 ครั้ง

ข่าวAdmission : ปี 2553 ลดการสอบ GAT-PAT เหลือ 2 ครั้ง



 
ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า จากการประชุม ทปอ.เมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเรื่องขององค์ประกอบในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือ Admission ปีการศึกษา 2554-2555 ตามที่ณะทำงานศึกษาระบบ Admission ของ ทปอ. ที่มี รศ.ดร. มณฑล สงวนเสริมศรี เป็นประธาน เสนอ คือ ให้ใช้ 4 องค์ประกอบหลักตามเดิม คือ คะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ม.ปลาย หรือ GPAX คะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET คะแนนการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT และคะแนนการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพหรือวิชาการ หรือ PAT ทั้งนี้ในการปรับค่าน้ำหนักของแต่ละกลุ่มสาขาจะต้องมีองค์ประกอบของ GAT และ PAT ไม่น้อยกว่า 10%



ประธาน ทปอ. กล่าวต่อไปว่า นอกจากนั้นที่ประชุมยังมีมติให้ลดจำนวนการสอบ GAT และ PAT ลงเหลือปีละ 2 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2553 และจัดสอบให้เฉพาะเด็ก ม.6 เท่านั้น รวมถึง ลดเวลาในการสอบ PAT จากวิชาละ 3 ชั่วโมงให้เหลือวิชาละ 2 ชั่วโมง ส่วน GAT ยังคงให้สอบ 3 ชั่วโมงเหมือนเดิม ทั้งนี้จะเริ่มการจัดสอบให้เฉพาะเด็ก ม.6 เท่านั้นในเดือนมีนาคม และ ตุลาคม 2553 เพื่อนำคะแนนไปใช้ในการแอดมิชชั่นในปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตามจะมีการนำข้อมูลทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์ www.cuas.or.th เพื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องต่อไป



ด้าน ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ฐานะรองประธาน ทปอ. กล่าวถึงกรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แสดงความห่วงใยและต้องการให้มีการปรับปรุงระบบ Admission รวมถึงกรณีที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) มอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นเจ้าภาพระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับระบบแอดมิชชั่น ว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจ ของทปอ. เพราะข้อสรุปของสกศ. รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ จะเป็นการปรับปรุงแอดมิชชั่นปี 2556 ที่หากจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรก็ต้องแจ้งนักเรียนล่วงหน้าอย่างน้อย 3 ปีแน่นอน


ข้อมูล : เดลินิวส์ออนไลน์
 

ข้อมูลเพิ่มเติม :

วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เคล็ดวิชารับศึก Admission 2553

การสอบAdmission




เคล็ดวิชารับศึก Admission 2553

เพื่อเตรียมพร้อมสู่การเป็นนิสิต/นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งแต่ละคนต้องผ่านด่านการสอบแข่งขันที่แสนโหด บางคนฝึกวิทยายุทธ์ กำลังสมองเตรียมพร้อมลงสนามมาอย่างเต็มที่ แต่บางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเริ่มต้น และเตรียมตัวอย่างไรกับการสอบที่กำลังจะมาถึงในปีหน้านี้

การศึกษาดอทคอม มุ่งเน้นให้น้องๆที่กำลังเตรียมตัวสอบ Admission เข้าสู่รั่วมหาลัยในปีหน้านี้ เริ่มเตรียมตัวก่อนใคร มุ่งมั่นสู่คณะที่หวังแต่อย่างเครียดกับการสอบมากเกินไป ทางการศึกษาดอทคอมจึงได้รวม แนวคิดดีๆจากน้องๆที่ประสบความสำเร็จ นำมาสรุปให้ในบทความนี้ ลองดูกันว่าแต่ละคนจะมีเคล็ดลับอะไรมาฝากกันบ้าง




วันนี้มีรุ่นพี่คนเก่งที่ผ่านสนามสอบคัดเลือกระบบแอดมิชชัน 51 และทำคะแนนสูงสุดติดอันดับประเทศ และสูงสุดของแต่ละคณะ มาเผยไม้เด็ด เคล็ดลับการเรียนกัน และนอกจากนี้ ยังมีผู้ใหญ่ใจดีมาอธิบายสัดส่วนการสอบแอดมิชชัน ปี 53 ให้กระจ่างชัดอย่างเข้าใจ และเตรียมพร้อมอย่างถูกทาง รวมถึงนักจิตวิทยาแนะแนว ที่จะให้คำแนะนำในการเตรียมความพร้อมก่อนสอบแอดมิชชันปีหน้านี้ด้วย

** ตั้งใจเรียนในชั้น มุ่งมั่นแต่ไม่กดดัน **

ถ้าพร้อมกันแล้ว...มาพบกับว่าที่นักเขียน/นักแปลอนาคตไกลอย่าง น.ส.กัญญานันท์ สังข์หล่อ หรือ กุ๋งกิ๋ง นิสิตปี 1 อักษรศาสตร์ จุฬาฯ อดีตนักเรียนโรงเรียนราชินีบน ผู้ทำคะแนนได้เป็นอันดับ 2 ของประเทศ และ อันดับ 1 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ด้วยคะแนน 91.04%

กุ๋งกิ๋ง เปิดเผยว่า เธอเตรียมตัวสอบ และเลือกคณะมาตั้งแต่ ม.4 มีความสนใจด้านภาษาเป็นพิเศษ เพราะสนุก และมีประโยชน์ต่อการติดต่อสื่อสาร จึงมุ่งมั่นทบทวนตำราเรียนอย่างสม่ำเสมอ เริ่มจากตั้งใจเรียนกับอาจารย์ในห้อง จับประเด็น ถ้าไม่เข้าใจให้ถามครูทันที เวลาอ่านหนังสือจะอ่านอย่างมีสมาธิ หลังอ่านจบแต่ละบท จะทบทวนอีกรอบ โดยพยายามจำ และนึกเนื้อหาออกเป็นภาพ เพื่อให้จำได้มากขึ้น เวลาว่างจะฟังเพลงคลายเครียด และเลือกเรียนพิเศษบ้างบางวิชา เพื่อเพิ่มความมั่นใจ และเทคนิคการสอบ แต่จะไม่ทิ้งการเรียนในห้องเด็ดขาด เพราะการสอบแอดมิชชันจะเน้นเนื้อหาจากตำราในห้องเรียนเป็นสำคัญ

อย่างไรก็ตาม กุ๋งกิ๋ง ยังฝากด้วยว่า การเตรียมตัวระยะยาวเป็นสิ่งสำคัญ อย่ารอให้ถึงช่วงสอบ แล้วมานั่งอ่าน และติวหนังสือ เพราะจะสร้างความกดดัน และเกิดความเครียด จนทำให้อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ส่งผลต่อการทำข้อสอบในที่สุด และ สิ่งสำคัญคือ การวางแผนชีวิต และค้นหาตัวตนอย่างเป็นระบบไว้ล่วงหน้า จะเป็นตัวสร้างธงให้เรา ถ้าเรามีธง ความมุ่งมั่น และตั้งใจจะเต็มร้อย ดังนั้น ต้องเลือกคณะในใจไว้ก่อน ว่าอยากเรียนอะไร มีความชอบด้านไหนมากเป็นพิเศษ รวมถึงต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับคณะที่เลือกให้มากที่สุด เพราะสิ่งที่เราเลือก คือครึ่งทางเดิน ที่เราเลือกให้ชีวิตในอนาคต“การติดตามข่าวเป็นเรื่องสำคัญ อย่าฝากความหวังไว้กับอาจารย์แนะแนวของโรงเรียนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องตามข่าวด้วยตัวเอง เพราะจะได้รู้ และเข้าใจระบบแอดมิชชัน ว่า ขณะนี้เคลื่อนไหวไปถึงไหนแล้ว เพื่อจะไม่เสียเปรียบในภายหลัง และอยากจะบอกน้องๆ ทุกคนว่า จงทำ 24 ชั่วโมงของเราให้คุ้มค่าที่สุด อย่าปล่อยเวลาให้เสียไปกับความว่างเปล่า” กุ๋งกิ๋ง ฝากทิ้งท้าย



** จัดระบบความคิด ไม่ติดการท่องจำ **



สอดรับกับ นายวีกิจ เจริญสุข หรือ “ไอซ์” อดีตนักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ผู้ทำคะแนนได้เป็นอันดับ 3 ของประเทศและอันดับ 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ด้วยคะแนน 89.72% ที่เผยเคล็ดว่า อย่าไปคร่ำเครียดกับการอ่านหนังสือมากเกินไป เพราะความเครียดจะช่วยลดทอนความจำในระดับหนึ่ง การจะลดความกังวลได้นั้น ต้องเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี ไม่ใช่มาเตรียมเอาตอนใกล้สอบ ฉะนั้น ต้องหาตัวเองให้เจอว่าชอบเรียนอะไรมากที่สุด ตอบคำถามตัวเองให้ได้ว่าจะเรียนเพื่ออะไร ทำอะไร? จากนั้นเล็งคณะที่เหมาะสม จากคะแนนที่เรามี และความสะดวกในการเดินทาง ที่สำคัญต้องอ่านหนังสืออย่างมีสมาธิ มีอารมณ์ร่วมในการอ่าน รวมทั้งต้องควบคุม หรือจัดเวลาการอ่านอย่างเหมาะ
“ผมจะไม่เรียนแบบจำ แต่จะเน้นการวิเคราะห์ เชื่อมโยงความเป็นเหตุ และผลของเหตุการณ์ หรือเนื้อหามากกว่า เรียกว่า การจัดระบบความคิดอย่างเป็นระบบ เช่น การปฏิรูปการศึกษาของรัชกาลที่ 5 มีปัจจัยจำเป็นอะไรบ้าง คือทุกอย่าง เราต้องรู้ที่มาที่ไป และวิเคราะห์ย้อนกลับให้ได้ว่าเพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น นอกจากนี้การอ่านต้องนึกภาพตาม สนุกกับมัน จะทำให้เราเข้าใจมากขึ้น” น้องไอซ์เผยไม้เด็ด

** สำรวจความชอบตัวเองเล็งเป้าหมายให้ชีวิต **

ขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.คมเพชร ฉัตรศุภกุล นักวิชาการอิสระ (นักจิตวิทยาและการแนะแนว) ให้คำแนะนำว่า การเรียนคือการเตรียมตัว และเตรียมความพร้อมระยะยาว เพื่อการสร้างงานในอนาคต แต่ปัจจุบันเด็กเรียนเพื่อเก่ง เรียนเพื่อหวังคะแนน ไม่หวังเพื่อสร้างตัวเอง และการประกอบชีพ ทำให้เด็กคิด และทำอะไรไม่เป็น ดังนั้นจึงต้องเข้าใจสติปัญญาของตัวเอง และดูให้ออกว่า เราเหมาะกับการเรียนแบบไหน ค้นหาตัวเองให้พบก่อนที่จะเลือกคณะ หรือสาขาวิชา
นอกจากนี้ยังบอกด้วยว่า ผู้เรียนต้องสำรวจพฤติกรรมของตัวเองว่าชอบอะไรมากที่สุดในโลก เพราะถ้าเรียนแล้วไม่ชอบ จะส่งผลให้ตามหลังเพื่อน และคู่แข่งในวิชาชีพ ด้านความสนใจ เป็นองค์ประกอบทางจิตวิทยาที่สำคัญ ให้ดูว่ามีจิตใจจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานหรือไม่ ทั้งหมดคือการเตรียมตัวที่เด็ก และพ่อแม่ต้องสำรวจอยู่ตลอดเวลา เพื่อความเชื่อมั่น ศรัทธาในสาขาวิชาที่เลือกต่อไป
"เด็กไทยไม่รู้จักตัวเอง และไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม ยังเป็นปัญหาสังคมที่ต้องเร่งเสริมความบกพร่องดังกล่าว อาจเป็นเพราะการเรียนขาดการเชื่อมโยงระหว่างวิชา กับชีวิต ขาดการเรียนรู้กับธรรมชาติ เพราะการไม่รู้จักตัวตน ทำให้ไร้ธงของชีวิตที่แน่ชัด อาจหลงทาง และเดินทางผิดได้ ดังนั้น จึงต้องร่วมด้วยช่วยกัน เพราะเด็กคืออนาคตของชาติ" นักจิตวิทยาและการแนะแนวเล่า
อย่างไรก็ตาม ดร.คมเพชร ยังบอกด้วยว่า การเตรียมตัวระยะสั้นไม่ช่วยให้เกิดประโยชน์ เพราะเป็นการอัด และเรียนรู้แบบเคร่งเครียด เรียนลัดเพื่อใช้สอบ ไม่ใช่ความรู้ และความเข้าใจที่แท้จริง การสอบคือการเตรียมตัวระยะยาวที่ต้องสะสมองค์ความรู้มาตั้งแต่เกิด ที่สำคัญต้องอย่าลืมการสอดแทรกคุณธรรม และจริยธรรมให้แก่เด็ก และลูก เพราะการที่เก่ง แต่ไร้คุณธรรม และความดีงาม ไม่ใช่คนเก่งที่สมบูรณ์






** เตรียมพร้อมองค์ประกอบ **** แอดมิชชัน **



เมื่อเข้าใจแนวทางการเรียน และการสอบจากรุ่นพี่ และนักจิตวิทยาแนะแนวดังกล่าวแล้ว ผู้เข้าสอบต้องเข้าใจสัดส่วนคะแนนระบบแอดมิชชันด้วย ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ได้อธิบายถึงสัดส่วนคะแนนการสอบแอดมิชชันปี 2553
แอดมิชชันปี 2553 (Admission 53) (สำหรับนักเรียนชั้น ม.5) องค์ประกอบ และค่าน้ำหนักคะแนนจะประกอบด้วย จีพีเอเอ็กซ์ 20%, O-NET 30% นอกจากนี้ยังมีการสอบ GAT 10-50% เช่น ความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ แก้โจทย์ปัญหา รวมถึงการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ สอบ 3 ชั่วโมง คะแนนเต็ม 300 คะแนน และ PAT 0-40% รวมทั้งสิ้น 100 % เพิ่มเติมอีกด้วย
สำหรับการสอบ PAT นั้น จะประกอบด้วย PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์ PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์ PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์ PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์ (ทัศนศิลป์,ดนตรี,นาฏศิลป์) PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศสเยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ) สอบ3 ชั่วโมงคะแนนเต็ม 300 คะแนน ข้อสอบปรนัย และอัตนัย (ที่ตอบแบบปรนัย)อย่างไรก็ตาม การสมัครสอบ จะสมัครปีละ 1 ครั้ง และสอบ 3 ครั้ง



"นักเรียนไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุกครั้ง และไม่จำเป็นต้องสมัครสอบทุก PAT ควรสมัครเฉพาะ PAT ที่เกี่ยวข้องกับคณะ หรือสาขาวิชาที่ต้องการ ส่วนคะแนนของ GAT/PAT สามารถเก็บไว้ได้ 2 ปี โดยจะเก็บเป็นรายวิชา นอกจากนี้ ทางเราได้เตรียมพร้อมสนามสอบไว้เกือบ 300 แห่ง เพื่อสะดวกในการเดินทางมาสอบ และแนวข้อสอบทั้ง 3 ครั้ง จะใช้รูปแบบเดียวกัน ซึ่งนักเรียนไม่ต้องกังวล" ผอ.สทศ.กล่าว



อย่างไรก็ตาม ทาง สทศ.ได้เปิดให้บริการ Call Center 02-975-5599 เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ครู นักเรียน และผู้ปกครอง ที่ต้องการสอบถามข้อมูล หรือสงสัยเกี่ยวกับการสอบ O-Net และการสอบ GAT/PAT โดยเปิดให้บริการทุกวัน (จันทร์-อาทิตย์) เวลา 07.00-19.00 น. ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หรือเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่
www.niets.or.th หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา www.cuas.or.th
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก: ASTVผู้จัดการออนไลน์ / www.niets.or.th



ข้อมูล Admissionเพิ่มเติม :

ระบบAdmission ปี 2553 กับ การสอบ GATและ PAT









สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) กำหนดจัดสอบ GAT (General Aptitude Test) และ PAT (Professional Aptitude Test) จำนวน 3 PAT คือ PAT 1, PAT 2 และ PAT 3 ให้กับนักเรียนที่กำลังเรียนชั้น ม.5 ขึ้นไป


การสอบ GAT และ PAT ครั้งที่ 1

ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้กำหนดองค์ประกอบและค่าน้ำหนักในการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยระบบกลางหรือแอดมิชชั่นส์ ปี 2553 ซึ่งประกอบด้วย

1. คะแนนเฉลี่ยสะสม ม.ปลาย (GPAX) 20%

2. คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) 30%

3. คะแนนแบบทดสอบความถนัดทั่วไป (GAT) 10-50%

4. คะแนนแบบทดสอบความถนัดทางวิชาชีพหรือวิชาการ (PAT) 0-40%

และได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับ GAT และ PAT พร้อมค่าน้ำหนักในแต่ละกลุ่มสาขาวิชา ดังนี้




มารู้จัก GAT

รายละเอียดเกี่ยวกับ GAT


1. ด้านที่วัด - การอ่านเชิงวิเคราะห์ การเขียนเชิงวิเคราะห์ การคิดเชิงวิเคราะห์ และการแก้โจทย์ปัญหา 50%- การสื่อสารทางภาษาอังกฤษ 50%

2. ลักษณะข้อสอบ - ข้อสอบปรนัยและอัตนัย คะแนนเต็ม 300 คะแนน- ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง

3. ผู้เข้าสอบ - เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป นักเรียนต้องสมัครสอบด้วยตนเอง

4. การจัดสอบ - ปีละ 3 ครั้ง ประมาณเดือนมกราคม พฤษภาคม ธันวาคม


(กำหนดเวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม)

- คะแนนของการสอบแต่ละครั้งมีอายุความ 2 ปี





มารู้จัก PAT

รายละเอียดเกี่ยวกับ PAT

1. ด้านที่วัด- เป็นการวัดเนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานของการเรียนต่อร่วมกันการวัดศักยภาพในแต่ละวิชาชีพ
มีทั้งสิ้น 7 PAT ดังนี้

PAT 1 วัดศักยภาพทางคณิตศาสตร์

1.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Algebra, Probability and Statistics, Conversion, Geometry, Trigonometry, Calculus ฯลฯ
1.2 ศักยภาพ Perceptual Ability, Calculation skills, Quantitative Reasoning, Math Reading Skills


PAT 2 วัดศักยภาพทางวิทยาศาสตร์

2.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ Earth Sciences, Environment, ICT ฯลฯ2.2 ศักยภาพ เช่น Perceptual Ability, Calculation skills, Sciences Reading Ability, Science Problem Solving Ability ฯลฯ


PAT 3 วัดศักยภาพทางวิศวกรรมศาสตร์

3.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Engineering Mathematics, Engineering Sciences, Life Sciences, IT ฯลฯ
3.2 ศักยภาพ Space Relations, Multidimensional, Perceptual Ability, Calculation Skills,Engineering Reading Ability, Engineering Problem Solving Ability

PAT 4 วัดศักยภาพทางสถาปัตยกรรมศาสตร์

4.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Architectural Math and Science
4.2 ศักยภาพ Space Relations, Multidimensional, Perceptual Ability, Architectural Problem Solving Ability ฯลฯ


PAT 5 วัดศักยภาพทางครุศาสตร์ / ศึกษาศาสตร์

5.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่นความรู้ในเนื้อหาภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา สุขศึกษา ศิลปะ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
5.2 ศักยภาพ ครุศึกษา (Pedagogy) ทักษะการอ่าน (Reading Skills) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย, การแก้ปัญหาที่เกิดจากนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน ฯลฯ

PAT 6 วัดศักยภาพทางศิลปกรรมศาสตร์

6.1 เนื้อหาที่เป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น - ทฤษฎีศิลปะ (ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์) - ความรู้ทั่วไปทางศิลป์
6.2 ศักยภาพ ความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ

PAT 7 วัดศักยภาพทางภาษาต่างประเทศที่ 2
(ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน บาลี และอาหรับ)

7.1 เนื้อหาที่จะเป็นพื้นฐานการเรียนต่อ เช่น Grammar, Vocabulary Culture, Pronunciation Functions
7.2 ศักยภาพ Paraphasing, Summarizing Applying Concepts and Principles, Problem Solving skills, Critical Thinking skills, Questioning skills, Analytical skills


2. ลักษณะข้อสอบ
- ข้อสอบปรนัยและอัตนัย คะแนนเต็ม 300 คะแนน- ใช้เวลาสอบ 3 ชั่วโมง

3. ผู้เข้าสอบ
- เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ขึ้นไป นักเรียนต้องสมัครสอบด้วยตนเอง

4. การจัดสอบ
- ปีละ 3 ครั้ง ประมาณเดือนมกราคม พฤษภาคม ธันวาคม- นักเรียนจะสมัครสอบกี่ครั้งก็ได้ เลือกใช้คะแนนที่ดีที่สุด

- คะแนนของการสอบแต่ละครั้งมีอายุความ 2 ปี (นับจากวันสอบ)



ถ้าอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติม สอบถามได้ที่ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สถานที่ติดต่อ : เลขที่ 128 อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 36 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0-2219-2991-5 โทรสาร : 0-2219-2996 Call Center : 02-975-5599 อีเมล์ : webmaster@niets.or.th เว็บไซต์ : http://www.niets.or.th/

ที่มา : eduzones / Niets.or.th




แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :



มาทำความรู้จักเว็บการศึกษาดอทคอม

กวดวิชา,กวดวิชาออนไลน์







ยินดีต้อนรับสู่การศึกษาดอทคอม

อินเทอร์เน็ตมีทั้งความรู้และพิษภัยขึ้นอยู่กับคนที่เลือกใช้มัน ปัจจุบันนี้มีสาระความรู้ที่รอให้เยาวชนได้เข้าไปเก็บเกี่ยวในโลกไซเบอร์มีมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดมีคนกลุ่มหนึ่งสร้างเว็บไซต์ที่ชื่อ“การศึกษาดอทคอม” ขึ้นมาเพื่อให้เยาวชนและผู้สนใจได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์



http://www.kanzuksa.com เป็นเว็บไซต์เรียนออนไลน์น้องใหม่ มีทั้งเรียนพื้นฐาน และเรียนกวดวิชา ภายในเว็บได้รวบรวมหลักสูตรการเรียนการสอน ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา จนถึงระดับมัธยมศึกษาปลาย และหลักสูตรวิชาชีพ ไว้ให้ได้เข้าไปอ่านตำรา ชมคลิปวีดีโอสื่อการสอน และข้อสอบประเมินวัดผล พร้อมเฉลยข้อสอบอย่างละเอียด เพื่อให้เข้าใจอย่างแท้จริง รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลสำคัญ ๆ ด้านการศึกษาอีกด้วย ผู้สนใจสามารถ

คลิก เข้าไปสมัครเป็นสมาชิกฟรี ทดลองเรียนฟร


เว็บไซต์นี้จะช่วยให้น้องๆ ได้เข้าถึงสื่อการเรียนการสอนที่มากทั้งคุณภาพและปริมาณ จะช่วยให้น้องๆประหยัดเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญปลอดภัยเมื่อได้เรียนอยู่ที่บ้าน เรามาดูกันครับ ว่าเว็บการศึกษาดอทคอมมีอะไรบ้าง เริ่มจากหน้าแรก เราก็มีเนื้อหามากมาย ที่จะให้น้องๆเข้ามาอ่าน และสามารถนำข้อมูลไปทำรายงานได้



มีอะไรในการศึกษา



ในส่วนของ

ลิ้งค์ดีๆ จะมีลิ้งข้อมูลต่าง น้องๆสามารถศึกษาและนำไปทำรายงาน
ข้อมูลเกี่ยวกับ
แอดมิชชั่น (Admission ,A-Net ,O-Net) ทุกแง่มุม
สรุป
Short Note ของแต่ละวิชา เพื่อนำไปใช้สอบ
Movie Chit-Chat ไว้ฝึกภาษาอังกฤษจากเพลงและหนัง
สาระน่ารู้ บทความดีๆ ความรู้รอบตัวที่ควรแก่การอ่าน
การศึกษาอัพเกรด รวบรวมข้อมูลการศึกษาต่อต่างประเทศ
ช่องทางประชาสัมพันธ์ ต่างๆ เช่น
ข่าวสารทางด้านการศึกษา, ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ ของสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ, ประกาศรับตรงของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ, ประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาดีๆทั้งในประเทศ และต่างประเทศ, อื่นๆอีกมากมาย
แต่ถ้าเป็นสมาชิกเว็บเรา ซึ่งการเป็นสมาชิกก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
และยังจะสามารถใช้บริการพิเศษเพิ่มขึ้นได้อีก เช่น
สมุดบันทึก ไว้เขียนบันทึกเรื่องส่วนตัวรายวัน
สมุดบัญชี ไว้ฝึกทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัว
แจ้งเตือน ไว้ค่อยเตือนเราในวันสำคัญๆไม่ให้เราลืม
ลิ้งค์ ไว้เก็บลิ้งค์สำคัญๆที่เราพบเจอ และต้องการจะเข้าอีกในครั้งต่อไป
อื่นๆอีกมากมาย

ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นสามารถใช้ได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด